top of page

แม่น้ำฮวงโหอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของจีน

       แม่น้ำเหลืองหรือหวงเหอเป็นแม่น้ำสายยาวเป็นอันดับสองของจีน รองจากแม่น้ำแยงซีหรือฉางเจียง ชื่อแม่น้ำเหลืองได้จากดนทรายสีเหลืองที่แม่น้ำสายนี้พัดพามาจากทิศตะวันตกทำให้ความอุดมสมบูรณ์ในสองฟากแม่น้ำและในบริเวณที่แม่น้ำสายนี้ท่วมท้น แม่น้ำเหลืองให้ทั้งความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูก ทำมาหากิน และทำให้เกิดความหายนะทั้งทรัพย์สินและชีวิตเมื่อแม่น้ำเกิดท่วมท้น ดังนั้น แม่น้ำเหลืองจึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า “แม่น้ำวิปโยค”

แม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองนับเป็นอู่อารยธรรมอันทรงคุณค่าแห่ง หนึ่งบนแผ่นดินใหญ่ มีหลักฐานการขุดพบซากฟอสซิลที่ระบุว่า มีมนุษย์วานรอายุ 5-6 แสนปีก่อนในยุคดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ เรียก ‘มนุษย์วานรหลันเถียน’ หรือ มนุษย์วานรที่เป็นบรรพบุรุษของชนชาติจีนที่อาศัยอยู่ในอำเภอหลันเถียนของมณฑลส่านซี

        • และเนื่องจากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลืองเป็นแหล่งที่ดินดี และอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุสำคัญต่อพืชจึงเหมาะแก่การเพาะปลูก กอปรกับสภาพอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นเหมาะแก่การตั้งบ้านสร้างเมือง ถิ่นนี้จึงเป็นแหล่งที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางประเพณีวัฒนธรรม เช่น บริเวณสายน้ำตอนกลางและตอนปลายเป็นแหล่งกำเนิด ‘วัฒนธรรมหยั่งเสา’ ที่มีอายุเก่าแก่ราว 3,000 – 5,000 ปี
        • ทั้งนี้ ตามหลักฐานที่มีการค้นพบซากโบราณสถานและเครื่องเคลือบสีโดยเฉพาะเครื่องเคลือบสีแดงซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘วัฒนธรรมเครื่องเคลือบสี’ กระจายอยู่ในอาณาบริเวณมณฑลเหอหนัน ซันซี ส่านซี กันซู่ ชิงไห่ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการขุดพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์อีกด้วย
        • ริมฝั่งแม่น้ำเหลืองยังเป็นแหล่งตั้งเมืองหลวงของราชวงศ์ต่างๆในประวัติศาสตร์จีน เช่น นครอันหยัง นครฉางอัน(ซีอัน) นครลั่วหยัง เสียนหยัง และไคเฟิง
        • อารยธรรมจีน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองทางตอนเหนือของประเทศจีน เป็นดินแดนที่มีการอาศัยอยู่รวมกัน และประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือการเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม การทำภาชนะ

ลุ่มแม่น้ำฮวงโห พบความเจริญที่เรียกว่า วัฒนธรรมหยางเชา( Yang Shao Culture ) พบหลักฐานที่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะสำคัญคือ เครื่องปั้นดินเผาเป็นลายเขียนสี มักเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และพบใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์ลายหรือขูดสลักลายเป็นรูปลายจักสาน ลายเชือกทาบ

bottom of page